วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่

วอลเลย์บอลหญิงไทย

ในวิธี หรือแผนการเล่นของกีฬาวอลเลย์บอลส่วนใหญ่มักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบผสม และแบบโครงสร้าง โดยรูปแบบแรกนั้นเป็นนักตบลูกยางทีมชาติไทยที่นำมาใช้ตลอด ซึ่งเราเห็นกันได้ชัด ๆ ในช่วงหลัง ๆ และเป็นสิ่งที่พาสาวไทยประสบความสำเร็จ พร้อมคว้าในการแข่งขันระดับโลกไปแล้วหลายต่อหลายนัด แถมรูปแบบผสมนี้ก็ยังได้สร้างตำนานอย่าง 7 เซียนเอาไว้คู่กับวงการลูกยางไทยอีกด้วย วันนี้เราจึงจะพาเพื่อน ๆ มาเรียนรู้ในเรื่อง วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

ในวิธีการเล่นแบบผสมเหมาะกับนักวอลเลย์บอลประเทศเราจริง ๆ หรือไม่ ถึงนักตบลูกยางรุ่นใหม่ ๆ จะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้รุ่น 7 เซียนที่อำลาวงการไปแล้ว แต่เพราะอะไรทำไมสาวไทยถึงยังไม่เคยผ่านเข้าสู่การแข่งขันโอลิมปิกรอบสุดท้ายได้สักที ครั้งนี้เราลองมาดูว่าคำถามด้านบนนั้นจะมีคำตอบให้เพื่อน ๆ หรือเปล่า แล้วเหตุใดทีมชาติไทยจึงต้องเล่นวอลเลย์บอลในรูปแบบผสม

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 1

เริ่มต้นจากแบบโครงสร้างก่อน การแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมักขึ้นอยู่กับความสูงเป็นหลัก และมันจะวัดได้คร่าว ๆ ว่าทีมนั้นเก่งหรือไม่ อย่างเช่นผู้เล่นในทีมของเรามีคนที่สูงถึง 180 ซม. โดยจะไปแข่งขันกับทีมที่มีความสูงเฉลี่ยแค่ 160 – 170 ซม. แน่นอนว่าเราต้องได้เปรียบ ขณะตอนขึ้นตบ หรือกระโดดบล็อกก็จะอยู่ในจุดที่ยอดเยี่ยมกว่า รวมถึงมีโอกาสในการทำแต้มมากตามไปด้วย เห็นได้ชัด ๆ เลยว่าหากนักกีฬาตัวเล็กนั้นจะเสียเปรียบในหลาย ๆ ทาง

สรุปแล้วปัจจัยแรก ๆ ที่ช่วยให้ทีมวอลเลย์บอลเก่งขึ้นได้ก็คือ ต้องใช้นักกีฬาซึ่งมีโครงสร้างสูง และรูปร่างเหมาะสม โดยเพื่อน ๆ สามารถดูได้จากนักตบลูกยางของชาติอื่น ๆ ที่มีอันดับโลกสูงกว่าไทย เช่นประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศรัสเซีย เป็นต้น ซึ่งพอมีร่างกายที่ได้เปรียบจึงทำให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งแบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 2

หากจะถามว่าการเล่นวอลเลย์บอลแบบผสมคืออะไร เพื่อน ๆ บางท่านอาจมีข้อสงสัยเวลาโค้ชของทีมสาวไทยพูดว่าใช้สูตรการเล่นแบบผสม ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกันว่าแบบแผนการเล่นแบบนี้เป็นเช่นไร

ในการเล่นวอลเลย์บอลแบบผสมถือว่ามีความสลับซับซ้อนมากกว่ารูปแบบโครงสร้าง เนื่องจากจะต้องทำการรุกมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป และจับมารวมกับการเล่นแบบสูตรโครงสร้าง ทำให้ทีมจะใช้การเข้าทำ หรือการโจมตีหลายในแบบต่าง ๆ เช่น บอลหัวเสา บอลเร็ว หรือบอลสามเมตร ซึ่งตรงนี้ผู้เล่นเกมรุกในสนามจะเคลื่อนไหวเพื่อทำให้คู่ต่อสู้สับสน แต่ในทีมจะต้องมีความรวดเร็วว่องไว พร้อมความเข้าใจกันมากกว่าปกติ โดยวิธีการนี้ไม่มีหลักสูตรตายตัว เพราะมันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาของโค้ชเท่านั้น

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 3

สมัยก่อนวอลเลย์บอลทีมชาติไทยยังเป็นรองประเทศฟิลิปปินส์ จนเมื่อการแข่งขันซีเกมส์ปี 1995 สาวไทยสามรถคว้าแชมป์มาได้ครั้งแรก และหลังจากนั้นก็กลายเป็นที่ 1 ของอาเซียนมาตลอดเนื่องจากการเล่นในรูปแบบผสม

ตอน เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร หรือ โค้ชอ๊อต เข้ามารับตำแหน่งวอลเลยบอลหญิงไทย เจ้าตัวมีความคิดใหม่ ๆ ที่อยากช่วยให้ทีมชาติไทยก้าวข้ามขั้นไปยังระดับเอเชีย และระดับโลก ซึ่งในช่วงแรกที่ทีมเข้าไปเล่นในทัวร์นาเมนต์ วอลเลย์บอลเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ แต่ก็พ่ายให้กับชาติจากยุโรป หรืออเมริกาตลอด เนื่องจากเขาใช้วอลเลย์บอลแบบโครงสร้าง มีรูปร่างสูงกว่าสาวไทยมาก ๆ สุดท้ายเราก็เอาชนะไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงโดยการคิดสูตรการเล่นแบบผสม โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค ปริม อินทวงศ์, พัชรี แสงเมือง จนกระทั่งถึงยุค 7 เซียน และใช้มาตลอดจน ณ ปัจจุบัน

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 4

กลับมาคำถามที่ว่าการเล่นแบบผสมนั้นเหมาะกับสาวไทยหรือเปล่า ซึ่งการเล่นรูปแบบนี้ต้องใช้ความรวดเร็ว ความว่องไว และความคล่องตัว มันจึงเหมาะกับชาติที่ผู้เล่นมีส่วนสูงไม่มากนัก โดยเราจะการเล่นแบบผสมเก่ง ๆ ในทีมชาติญี่ปุ่น และทีมชาติไทย

สำหรับนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยจะใช้การรุกในแบบต่าง ๆ เข้ามาผสมกัน ทำให้คู่ต่อสู้อ่านเกมของเรายาก หากสังเกตดี ๆ จะเห็นนักตบลูกยาง 2 คน คอยวิ่งหลอกสลับกันตลอด ทั้งการหลังไหลสั้นยาว ตัวตบวิ่งอ้อมตัวเซต หรือตัวตบกระโดดขึ้นหลอก ทั้งหมดนี้จะสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้ามได้เป็นอย่างดี

แล้วเหตุใดทีมหญิงไทยจึงเล่นรูปแบบผสม ก็เนื่องจากผู้เล่นของเราส่วนใหญ่จะตัวเล็กกว่าชาติอื่น ๆ เมื่อก่อนจะมีแค่ ทัดดาว กับ ปลื้มจิตร์ ที่สูงเกิน 180 ซม. ซึ่งพอรวมทั้งทีมแล้วจะมีความสูงเฉลี่ยเพียง 170 ซม. เท่านั้น แต่ชาติที่มีอันดับเหนือกว่ามักจะมีความสูงเฉลี่ย 190 ซม. ขึ้นไป หากนักตบสาวไทยจะไปสู้แบบโครงสร้างก็คงไม่ไหว กลับกันถ้าใช้วิธีเล่นแบบผสมเราจึงมีโอกาสทำแต้มได้มากขึ้น

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 5

เราสามารถดูนักวอลเลย์บอลญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างได้ เพราะมีส่วนสูงกับรูปร่างใกล้เคียงกับสาวไทย และพวกเขาก็โชว์ให้เห็นแล้วว่าการนำวิธีเล่นแบบผสมมาใช้จะช่วยให้สู้กับทีมที่มีส่วนสูงมากกว่าได้อย่างสูสี หากเปลี่ยนไปเล่นแบบอื่นอาจจะพ่ายแพ้แบบขาดลอยก็ได้

ในทีมชาติไทยจะมีผู้เล่นที่ตบหนัก ๆ ให้ผ่านบล็อกอยู่ไม่มากหนัก ถ้าเราไม่ใช้การเล่นแบบผสมก็ยากที่จะตีผ่านคู่แข่งไปได้ สำหรับกีฬาวอลเลย์บอลนั้นไม่เหมือนกับกีฬาฟุตบอลที่มีกองหน้าตัวเล็กก็เปลี่ยนวิธีเข้าทำโดยเล่นลูกกับพื้นแทนได้ แต่นักตบลูกยางต้องตัดสินกันบริเวณหน้าตาข่ายสไตล์แบบผสมจึงเหมาะกับสาวไทยแล้ว

อีกทั้งทีมวอลเลย์บอลของไทยควรจะมีหลากหลายวิธีการเล่น เนื่องจากเราตีหน้าตรงไม่ได้ ต้องใช้วิธีหลอกเรื่อย ๆ หากจะเล่นบอลโครงสร้างคงจะพังเพราะเราไม่ได้มีผู้เล่นตำแหน่งหัวเสาที่สูง หรือตบได้หลายแบบนัก

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 6

สำหรับการวิธีเล่นแบบผสมนั้นจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจ รู้ใจ รวมถึงการประสานงานกันของนักวอลเลย์บอลในทุก ๆ ตำแหน่ง ซึ่งสาวไทยนั้นถือว่าทำได้ยอดเยี่ยม ส่วนการเล่นแบบนี้ไม่ว่าจะถูก หรือผิด ผลงานต่าง ๆ ของนักตบลูกยางของเราได้ให้คำตอบเอาไว้ในสนามแล้ว

หลาย ๆ คนจึงคิดว่านักวอลเลย์บอลทีมชาติไทยไม่เหมาะกับการเล่นแบบโครงสร้าง แต่เหมาะกับการเล่นแบบผสม โดยผลงาน และอันดับโลกได้แสดงให้ทุกท่านเห็นกันแล้ว เนื่องจากเราได้ก้าวข้ามผ่านอาเซียน และการมาเป็นทีมระดับต้นของเอเชีย แถมยังสามารถเก็บแชมป์เอเชียมาได้ถึง 2 สมัยเมื่อช่วงปี ค.ศ. 2009 กับ 2013 และตำแหน่งรองแชมป์เอเชียนเกมส์ปี 2018 นับเป็นผลงานอีกหนึ่งผลงานในประวัติศาสตร์ลูกยางไทยเลยทีเดียว

วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ 7

จากผลงานในการเล่นแบบผสม ส่งผลให้เกิด 7 เซียนขึ้นมาในทีมชาติไทย โดย อรอุมา สิทธิรักษ์ , ปลื้มจิตร์ ถินขาว , นุศรา ต้อมคำ , วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ , อัมพร หญ้าผา , มลิกา กันทองและวรรณา บัวแก้ว ล้วนแต่มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ และได้บินไปเล่นในลีกต่างชาติกันทุกคน จึงสรุปได้ว่าการเล่นรูปแบบผสมของสาวไทยนั้นดีจริง ๆ ส่วนเรื่องที่เรายังไม่สามารถทำตามความฝันในการไปลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิกรอบสุดท้าย ก็ต้องบอกว่ามันมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

แต่ที่น่ากลัวก็คือปัจจุบันหลาย ๆ ชาติต่างก็หันมาลองเล่นบอลแบบผสมกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝั่งยุโรป หรืออเมริกา โดยที่เขาไม่ได้ยึดรูปแบบโครงสร้างอย่างเดียวเหมือนเช่นแต่ก่อน ดังนั้นอนาคตถ้านักกีฬาที่ตัวสูงสามารถเข้าใจ และเล่นวอลเลย์บอลแบบผสมได้คล่องแคล่วขึ้น ก็เป็นเรื่องที่สาวไทยต้องระวัง หากเกมรับเราไม่เหนียวแน่นพอคงยากจะต้านทานทีมอื่น ๆ ได้

เพื่อน ๆ คงจะได้คำตอบแล้วว่า วอลเลย์บอลหญิงไทยเหมาะกับการเล่นรูปแบบผสมหรือไม่ ยังไงก็คงจะต้องเฝ้าดู พร้อมให้กำลังใจนักกีฬาของเรากันต่อไป และหวังว่านักตบลูกยางสาวไทยจะมีลูกเล่นใหม่ ๆ มาให้แฟน ๆ ได้ชมกันอีก

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG