สำหรับแฟน ๆ กีฬาวอลเลย์บอลชาวไทยยุคเก่าคงจะปฏิเสธความโด่งดังของยุค 7 เซียนไม่ได้แน่ ๆ เพราะพวกเธอนับว่าเป็นคนจุดประกายไฟในวงการวอลเลย์บอลให้มีความหวังขึ้นมาอย่างโชกโชน ไม่ว่าจะเดินทางไปแข่งขันในรายการไหน หรือต้องเจอกับคู่แข่งประดับโลกก็ไม่เคยหวั่น แถมยังยังสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมได้ตลอดเวลา และกวาดรางวัลมามากมายนับไม่ถ้วน ส่วนเด็ก ๆ ยุคใหม่ หรือแฟน ๆ ที่พึ่งเคยชมกีฬาวอลเลย์บอลช่วงปีหลัง ๆ อาจจะไม่ทันได้เห็นการเล่นของพวกเธอครบทั้ง 7 หรืออาจจะทันก็แค่ช่วงท้าย ๆ และได้ชมฝีมือของบางคนเท่านั้น วันนี้เราจึงได้นำบทความ ย้อนรอยตำนานวอลเลย์บอลหญิงไทยกับ 7 เซียน มาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน ว่าความเป็นมา และความสุดยอดของพวกเธอนั้นจะยอดเยี่ยมแค่ไหน
เริ่มต้นเราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับนักตบลูกยางสาวทั้ง 7 คนกันก่อนว่ามีใครกันบ้าง คนแรกได้แก่ ปลื้มจิตร ถินขาว หรือ หน่อง คนที่ 2 คือ นุศรา ต้อมคำ หรือ ซาร่า คนที่ 3 เป็น อรอุมา สิทธิรักษ์ หรือ อร คนที่ 4 คือ อำพร หญ้าผา หรือ แจ๊ค คนที่ 5 เป็น มลิกา กันทอง หรือ ปู สาวคนที่ 6 คือ วิลาวัณย์ อภิญาพงศ์ หรือ กิ๊ฟ ส่วนคนสุดท้ายคือ วรรณา บัวแก้ว หรือ นา โดยช่วงประมาณ 20 ปี กับเส้นทางวอลเลย์บอลของพวกเธอนั้นได้สร้างผลงานต่าง ๆ ในระดับประเทศเอาไว้อย่างมากมาย ทำให้แฟน ๆ ชาวไทยเชียร์กันแบบมีความสุข สนุกสนาม และตื่นเต้นเร้าใจกันแบบถ้วนหน้า ซึ่งถ้าหากนับแค่เฉพาะตอนที่ทั้ง 7 ได้เล่นรวมกันนั้นในนามทีมชาติก็ได้กวางรางวัลมาหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น 1 แชมป์เอเชี่ยนคัพ 2 แชมป์ชิงแชมป์เอเชีย และ 3 เหรียญทองในซีเกมส์ แต่น่าเสียดายที่สุดก็คงจะเป็นการที่ไม่ได้เห็นสาว ๆ เข้าไปร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเกมส์เพราะต้องพ่ายให้กับทีมชาติเกาหลีใต้นั่นเอง
หากจะถามว่าตำนาน 7 เซียนนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ก่อนอื่นก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1997 เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร หรือ อ๊อต ได้ตกลงมารับหน้าที่เป็นโค้ชของสมาคมวอลเลย์บอลหญิง และได้ทำการเฟ้นหาสาว ๆ นักตบลูกยางดาวรุ่งจากทั่วประเทศเพื่อให้ทดลองเข้ามาฝึกซ้อมร่วมกัน ใช้เวลาด้วยกัน ไม่ว่าจะเวลากิน หรือการพูดคุยปัญหาต่าง ๆ เมื่อเขามองแล้วว่าใครมีพรสวรรค์ หรือใครมีความเก่งกาจโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ก็จะดึงไปติดทีมชาติไทยชุดใหญ่
โดยทั้ง 7 คนนั้นถูกเริ่มจากเด็ก 3 คนแรกก่อนคือ ปลื้มจิตร ถินขาว หรือ หน่อง จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) วรรณา บัวแก้ว หรือ นา จากโรงเรียนสวนกุหลาบ สมุทรปราการ และ วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ หรือ กิ๊ฟ จากโรงเรียนสุรนารีวิทยา ซึ่งนักตบดาวรุ่งทั้ง 3 สาวนี้สามารถโชว์ฟอร์ได้เข้าตาในเวลานั้น และไม่นานนักทั้งหมดก็ถูกคัดเลือกเข้ามาอยู่ในกลุ่มเด็ก ๆ ฝีมือดีอีกหลายคนจนได้ไปเก็บตัวในจังหวัดยะลาเพื่อเตรียมพร้อมลงแข่งในนามทีมชาติชุดเยาวชนไทยชุดแรกของโค้ชอ๊อต ซึ่งทีมชาติรุ่นเด็กชุดนี้สามารถสร้างผลงานได้อย่างสุดยอดเกินความคาดหมาย เพราะพวกเธอนั้นประสบความสำเร็จทั้งในการแข่งขันระดับอาเซียน และก้าวไปอีกขั้นในระดับเอเชีย โดยกวาดแชมป์มาครองได้แบบนับไม่ถ้วน ทำให้ต่อมาไม่นานนัก วิลาวัณย์ วรรณา และปลื้มจิตร จึงถูกดันขึ้นไปติดทีมวอลเลย์บอลหญิงชุดใหญ่อย่างรวดเร็ว
มาต่อกันคนที่ 4 อำพร หญ้าผา หรือ แจ๊ค สาวนักตบตัวตึงจาก โรงเรียนสตรีนนทบุรี เธอถูกจับตามองเพราะความสามารถอันโดดเด่นเกินเบอร์ในการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับมัธยม จนโค้ชอ๊อตต้องเรียกตัวเข้ามาฝึกซ้อมกับทีมชาติเพื่อจะได้เห็นฝีมือแบบเต็ม ๆ เพราะ ณ ตอนนี้เขาได้รับหน้าที่เป็นโค้ชให้กับทีมชุดใหญ่แล้ว
สำหรับคนที่ 5 จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก นุศรา ต้อมคำ หรือ ซาร่า สุดยอดดาวรุ่งตำแหน่งเซตพรสวรรค์สูงจาก โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งตอนนั้นก็มีดีกรีเป็นทีมชาติชุดเยาวชนอยู่แล้ว และเมื่อเธอถูกเรียกมาติดทีมชาติชุดใหญ่ก็สามารถโชว์ของให้หลาย ๆ คนได้เห็นกับตาว่าเก่งกาจขนาดไหน โดยขณะนั้นเหล่ารุ่นพี่ในทีมก็เริ่มอำลาทีมชาติกันไปทีละคนสองคน จึงเป็นโอกาสอันดีของ นุศรา ที่จะก้าวเข้ามาทดแทนได้ทันที
ส่วนผู้เล่นคนที่ 6 ก็คือ อรอุมา สิทธิรักษ์ หรือ อร จาก ที่โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เช่นกัน โดย อร ก็เป็นรุ่นน้องของ ต้องนั่นเอง แต่ต้องบอว่าก่อนหน้านั้น อร เคยเจออุปสรรคหลายต่อหลายครั้งแต่ก็เคยไม่ท้อถอย มั่นฝึกฝนฝีมืออยู่ตลอดเวลา ทำให้สุดท้ายเธอก็มีรายชื่อติดทีมวอลเลย์บอลสาวไทยชุดใหญ่จนได้ และทัวร์นาเมนต์ที่เข้าร่วมสู้ศึกก็คือการแข่งขันรายการซีเกมส์ปี ค.ศ. 2007 ซึ่งถูกจัดขึ้นในประเทศไทยนี่เอง โดยเจ้าตัวก็ไม่ทำให้ทุก ๆ คนผิดหวัง ระเบิดฟอร์มแจ้งเกิดบนเวทีนี้ได้สำเร็จ
จิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายใน 7 เซียนคือ มลิกา กันทอง หรือ ปู จาก โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเธอเป็นผู้เล่นอีกหนึ่งคนที่มีความสามารถรอบตัว เล่นได้หลายตำแหน่ง จริง ๆ แล้ว ปูเข้ามาสู่ทีมชาติชุดใหญ่ก่อน อร ซักพัก แต่การที่ ปู อายุน้อยที่สุดจึงทำให้เจ้าตัวกลายเป็นน้องเล็กไปโดยปริยาย เมื่อสาว ๆ รวมตัวกันครบแล้วก็ทำให้ทีมชาติไทยนั้นครบเครื่องทันที และยากจะหาใครต้านทานได้ในระดับเอเชีย
เมื่อโค้ชอ๊อตได้ทีมซึ่งเรียกได้ว่าแข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์ของสาวไทยมาแล้ว ก็ได้ฟอร์มทีมร่วมฝึกกันฝึกซ้อม และลงแข่งขันตามทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ หลายต่อหลายงาน หลังจากเวลาผ่านไปทุกคนเริ่มเข้าขากัน ทั้ง 7 สาว ก็ได้ถือกำเนิดคำว่า 7 เซียนขึ้นมาในวงการวอลเลย์บอลหญิงไทย โดยพวกเธอทั้งหมดร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ในนามทีมชาติไทยมาอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อก่อนที่วอลเลย์บอลสาวไทยถูกชาติอื่นมองว่าเป็นแค่ทางผ่าน แต่หลังจากการก้าวเข้ามาของมา 7 เซียนก็ทำให้ต่างชาติต้องระวังตัว และกลัวที่จะแข่งขันกับพวกเธอมากยิ่งขึ้น
ในนัดชิงชนะเลิศรายการชิงแชมป์เอเชีย ณ ประเทศเวียดนาม ปี ค.ศ. 2009 ในรอบรองชนะเลิศ สาว ๆ 7 เซียนนั้นสามารถคว้าชัยชนะจากทีมชาติญี่ปุ่น ทั้ง ๆ ที่ทีมชาติไทยของเราไม่เคยชนะทีมจากแดนปลาดิบมาเกือบ 8 ปีแล้ว และในนัดชิงชนะเลิศพวกเธอก็สร้างเซอร์ไฟรส์ด้วยการคว่ำทีมชาติจีน ซึ่งเราไม่เคยชนะได้เลยแม้แต่ครั้งเดียวลงได้สำเร็จ โดยหลังจากนั้นทั้ง 7 คนที่มีชื่อเสียงมากขึ้นก็ถูกดึงตัวไปร่วมกับทีมจากสโมสรต่างประเทศ จนสุดท้ายทั้งหมดก็ได้กลายเป็นขวัญใจแฟน ๆ วอลเลย์บอลทั้งชาวไทย และแฟน ๆ วอลเลย์บอลในต่างแดนเรียบร้อย
มีพบก็ต้องมีจาก เมื่อเวลาล่วงเลยจนทุกคนอายุมากขึ้น และต้องมีการอำลาวงการกันไป ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2021 ทางสมาคมวอลเลย์บอลก็ได้มีการจัดงานอำลาอันงดงามให้กับเหล่า 7 เซียน โดยพวกเธอรวมตัวกันลงเล่นเกมแมตซ์สุดท้ายกับทีมดาวรุ่งออลสตาร์ เพื่อขอบคุณที่ได้สร้างชื่อเสียง และเกียรติยศให้แก่วงการวอลเลย์บอลไทยมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งทั้งหมดนี่ก็คือสุดยอดตำนานแห่งวงการนักตบลูกยางสาวไทย 7 เซียน
จบลงไปจนได้กับ ย้อนรอยตำนานวอลเลย์บอลหญิงไทยกับ 7 เซียน เราหวังว่าบทความนี้คงจะทำให้เพื่อน ๆ หลาย ๆ ท่านหายคิดถึงพวกเธอ และน่าจะสร้างความประทับให้กับแฟน ๆ วอลเลย์บอลรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ปัจจุบันหลาย ๆ คนในชุดนี้จะเลิกเล่นกีฬาวอลเลย์บอลไปแล้ว ส่วนบางคนจะยังรับใช้สโมสรอยู่ แต่เราก็สามารถเรียกนักตอบลูกยางสาวเจ้าเอเชียทั้ง 7 ว่าเป็นตำนานได้อย่างไม่ขัดเขิน เพราะไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความสามารถเฉพาะตัว ความเก่งกาจ ความสามัคคี ชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือรางวัลที่ได้รับมาย่อมการันตีคุณภาพของพวกเธอเอาไว้ทั้งหมดแล้ว