ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติความเป็นมา

หากจะพูดถึงวอลเลย์บอลแล้ว ชั่วโมงนี้แฟน ๆ กีฬาทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะสาว ๆ นักตบลูกยางทีมชาติไทยเราทำผลงานได้สุดยอด และน่าชื่นชมมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายปีแล้ว ซึ่งการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2022 พวกเธอก็สามารถผ่านเข้าถึงรอบลึก ๆ และทำผลงานที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 13 ของรายการ โดยจัดอันดับครั้งล่าสุดจากเอฟไอวีบีทีมสาวไทยถูกวางอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก (ณ 10 ตุลาคม 2022) เรียกได้ว่าเก่งมาก ๆ แต่จะมีซักกี่คนที่ทราบถึง ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอลชนิดนี้ ถ้าไม่อยากพลาดข้อมูลต้นกำเนิดดี ๆ แล้วละก็ ตามไปอ่านกันต่อด้านล่างได้เลย

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 1

กีฬาวอลเลย์บอลนั้นกำเนิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม วายเอ็มซีเอ เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมันเกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยมีความคิดว่าเมื่อฤดูหนาวมาถึงเขายังคงต้องการให้มีการเล่นกีฬาใหม่ ๆ สำหรับใช้ออกกำลังกายพร้อมพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตกแทนการเล่นกีฬากลางแจ้งเพียงแค่ช่วงเดียวนั่นเอง

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 2

โดยคุณ วิลเลียม นำเอาแนวความคิด ลักษณะ และวิธีการเล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงขึ้นใหม่ ใช้ตาข่ายเทนนิสขึงระหว่างเสาให้สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว ส่วนอุปกรณ์การเล่นก็จะใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วจึงใช้มือ หรือแขนตีโต้ข้ามกันไปมา แต่เนื่องด้วยยางในของลูกบาสเกตบอลมีน้ำหนักเบาทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้า และมีทิศทางเคลื่อนไหวแบบไม่แน่นอน จึงหันมาลองเปลี่ยนเป็นใช้ลูกบาสเกตบอลแท้ ๆ ดูบ้าง แต่ลูกบาสเกตบอลกลับมีน้ำหนัก มีขนาดใหญ่ และมีสัมผัสที่แข็งจนเกินไป ทำให้ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บได้ง่าย จนในที่สุดเขาจึงหาทางออกอย่างเหมาะสมโดยไปติดต่อให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลหุ้มด้วยหนังพร้อมบุด้วยยาง มีเส้นรอบวง 25 ถึง 27 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 8 ถึง 12 ออนซ์ออกมาลองใช้ ซึ่งเขาตั้งชื่อเกมการเล่นใหม่นี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 3

เมื่อถึง ค.ศ.1896 ก็ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษา ณ วิทยาลัยสปริงฟีลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน จึงสาธิตทดลองวิธีต่อหน้าองค์ประชุมหลังจากที่พวกเขาได้ชมการเล่น ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้คุณ มอร์แกน เปลี่ยนชื่อจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) โดยมอบความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นตีโต้ลูกบอลเพื่อให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ และผู้เล่นต้องพยายามไม่ให้ลูกบอลตกลงสู่พื้นจึงกลายเป็นที่มาของชื่อวอลเลย์บอลในปัจจุบัน ข้ามไป ค.ศ. 1928 ดร.จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงพร้อมเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอลต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสม และเป็นมาตาฐานมากยิ่งขึ้น แล้วจึงให้นำไปใช้กับการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลระดับชาติ ซึ่งเขาก็ได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลไปยังสถานที่ต่าง ๆ จนรับสมญานามว่าบิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 4

ทีนี้เพื่อน ๆ ลองตามมาอ่านต่อเรื่องการเข้ามาของกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทยครั้งแรกกันบ้าง กีฬาวอลเลย์บอลนั้นได้เผยแพร่สู่ประเทศไทยตั้งแต่ช่วงไหนยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่อย่างใด โดยบางตำราบอกว่าชาวไทยบางกลุ่มเริ่มเล่น และแข่งขันวอลเลย์บอลกันในปี 2477 ซึ่งมันอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาจารย์น พคุณ พงษ์สุวรรณ จากกรมพลศึกษาก็ได้จัดพิมพ์กติกา พร้อมจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี ซึ่งทำการบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก ใช้กติกาการลงเล่นระบบ 9 คนก่อน หลังจากเวลาผ่านไปกีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ต่อมาในปี 2500 ก็ได้มีการประชุมหารือพิจารณาจัดตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการขึ้นมา เพื่อคอยทำหน้าที่ และรับผิดชอบเรื่องต่าง ๆ จนกระทั่งเกิดสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Amateur Volleyball Association of Thailand) แบบเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 โดยปรับเปลี่ยนระบบการแข่งขันให้เหลือจำนวนทีมละ 6 คนตามมาตราฐาน ซึ่งเวลาต่อมาก็ถูกบรรจุเข้าในหลักสูตรชั้นมัธยมต้นช่วงปี 2521 และตามด้วยหลักสูตรชั้นมัธยมปลายเมื่อปี 2524 ตามลำดับ

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 5

สำหรับองค์กรบริหารกีฬาวอลเลย์บอลสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (Thailand Volleyball Association) จะเป็นองค์กรกีฬาระดับชาติ คอยทำหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลอย่างเป็นทางการ ทั้งวอลเลย์บอลในร่ม และวอลเลย์บอลชายหาด พร้อมให้การสนับสนุนวอลเลย์บอลทีมชาติของไทย สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยนั้นเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และยังเป็นสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งมันจะส่งผลให้กีฬาวอลเลย์บอลของไทยนั้นถูกยอมรับทั้งระดับทวีป จนไปถึงระดับโลก ส่วนสำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ที่ กกท. หรือ การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก กรุงเทพมหานครนั่นเอง

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 6

มาต่อกันที่สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (Asian Volleyball Confederation) หรือหลายคนเรียกกันสั้น ๆ ว่า เอวีซี AVC เป็นองค์กรระดับทวีปสำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอลในทวีปเอเชีย และเขตโอเชียเนียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของวอลเลย์บอลแบบในร่ม หรือวอลเลย์บอลแบบชายหาด โดยสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียนั้นเป็นสมาชิกสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยของเรา

สุดท้ายสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (Fédération Internationale de Volleyball) หรือที่เรียกกันแบบย่อ ๆ ว่า เอฟไอวีบี FIVB ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดสำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอลระดับโลก ทั้งวอลเลย์บอลในร่มกับวอลเลย์บอลชายหาด โดยสำนักงานใหญ่นั้นจะตั้งอยู่ ณ โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 7

มาถึงวิธีการนับคะแนนในเกมวอลเลย์บอลแบบเป็นทางการทั่วโลก จะกำหนดจำนวนเซ็ต (Set) เพื่อตัดสินหาทีมแพ้ชนะ โดยต้องชนะการแข่งขันทั้งหมด 3 ใน 5 เซ็ต (ยกเว้นในบางการแข่งขันซึ่งกำหนดเองเฉพาะกิจ) เซ็ตที่ 1 ถึงเซ็ตที่ 4 ทีมใดทำได้ 25 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเซ็ตนั้น ๆ ไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องเล่นเกมต่อไปอีกเซ็ตซึ่งถูกเรียกว่า ดิวซ์ (Deuce) จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะจบเซ็ต ส่วนเซ็ตที่ 5 ซึ่งเป็นเซ็ตตัดสินผู้ชนะการแข่งขัน คือทีมที่ทำได้ 15 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเซ็ตนั้นไป แต่ถ้าคะแนนเสมอกันที่ 14-14 จะต้องเล่นดิวซ์ จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน จึงจะจบการแข่งขันในที่สุด

ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล 8

การให้คะแนนจากนัดที่แข่งขันสำหรับรายการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับลีก (League) หรือทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ เช่นการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มจะมีการคิดคะแนนจากผลการแข่งขันในแต่ละนัดที่แข่งขัน เพื่อตัดสินทีมที่อันดับดีที่สุด ซึ่งอาจจะมีการคำนวณคะแนนแตกต่างกันในแต่ละลีก แต่เราจะมากล่าวถึงการใช้คะแนนที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ณ ปัจจุบัน ดังนี้ ทีมจะได้ 3 คะแนนต่อนัด เมื่อ ชนะ 3–0 เซ็ต หรือ 3–1 เซ็ต ได้ 2 คะแนนต่อนัด เมื่อ ชนะ 3–2 เซ็ต ได้ 1 คะแนนต่อนัด เมื่อ แพ้ 2–3 เซ็ต ไม่ได้คะแนน เมื่อ แพ้ 0–3 เซ็ต หรือ 1–3 เซ็ต ส่วนในบางรายการอาจจะตัดสินทีมที่อันดับดีกว่าโดยดูจากจำนวนนัดที่ชนะก่อนจะดูจากคะแนนที่ได้ และหากหลายทีมที่คะแนนเท่ากันก็จะใช้ค่าเพิ่มเติมมาตัดสินอันดับ คือ อัตราส่วนเซ็ตที่ได้ต่อเซ็ตที่เสียจากทุกนัด อัตราส่วนคะแนนที่ได้ในเกมต่อคะแนนที่เสียในเกมจากทุกนัด

ตอนนี้เพื่อน ๆ ก็คงจะพอรู้จักกับ ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล ว่ามันเป็นมาอย่างไร และเข้าใจกันมากขึ้นกันแล้วใช่หรือเปล่า หากมีคนถามก็น่าจะสามารถอธิบายอวดความรู้กันได้เป็นฉาก ๆ เลยทีเดียว ส่วนถ้าใครไม่ได้เพียงแค่ลุ้น ชม และเชียร์เกมเพียงอย่างเดียว แต่มีความหลงใหลถึงขนาดหันมาออกกำลังกายด้วยกีฬาชนิดนี้ด้วยแล้วละก็ ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยคลายเครียด และยังเข้าถึงเกมได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม สนุกกว่าที่เคย สุดท้ายนี้ก็อย่าลืมส่งกำลังใจไปเชียร์นักตบสาวไทยในทุก ๆ การแข่งขันกันด้วยนะ

เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ป๊อกเด้งออนไลน์

บทความล่าสุด

หมวดหมู่

TAG