วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีกฤดูกาล 2022 – 2023 เปิดฉากกันไปแล้ว ผ่านมา 4 นัดก็เรียกได้ว่าขับเคี้ยวกันอย่างหนักเลยทีเดียวระหว่าง สโมสร สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค และสโมสร ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ ซึ่งทั้งคู่ล้วนแต่ยังไม่แพ้ให้กับทีมไหนทั้งสิ้น ครองอันดับ 1 กับอันดับ 2 ตามลำดับ โดย 2 สโมสรนี้เป็นคู่แข่งเบียดแย่งแชมป์กันมาตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้วจนกระทั้งสุดท้าย ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ ก็สามารถคว้าแชมป์ตัดหน้าไปได้สำเร็จ หากใครคนไหนพึ่งจะลองมาติดตามวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีกฤดูกาลล่าสุด เราก็อยากแนะนำบทความ ย้อนรอยวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2022 กับการคว้าแชมป์ของสโมสรไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ–แอร์ฟอร์ซ กันซักหน่อย เพื่อที่ว่าเพื่อน ๆ จะได้ทราบประวัติ และมีส่วนร่วมไปกับศึกการแข่งขันของลีกสูงสุดของประเทศไทยในครั้งนี้
สำหรับคนที่ติดตามศึกวอลเลย์บอลหญิงไทยลีกมาอย่างต่อเนื่องก็คงทราบแล้วว่าฤดูกาล 2021-2022 ได้ผู้ชนะไปเรียบร้อยแล้ว โดยตำแหน่งแชมป์ตกเป็นของสโมสร ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ นั่นเอง ซึ่งนับเป็นแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน ปาดหน้าทีมคู่แข่งตัวฉกาจอย่างสโมสร สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค แบบสนุกเลยทีเดียว ก่อนเกมในนัดชิงหากจะดูแค่ผลการแข่งขันของทั้ง 2 ทีมที่พบกัน 3 ครั้งก็จะเห็นว่า สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค สามารถเอาชนะมาได้ตลอด ทำให้ก่อนเกิดเกมชิงชนะเลิศนั้นฝ่ายสุพรีมกำความได้เปรียบเอาไว้เป็นอย่างมาก แฟน ๆ วอลเลย์บอลหลายคนก็คิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าแชมป์ในฤดูกาล 2021 – 2022 คงหนีไม่พ้นทีมโลมาสีชมพูแน่ ๆ แต่พอถึงเวลาลงสนามกันจริง ๆ ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ กับสร้างเซอร์ไพรส์ให้กองเชียร์ตกตะลึงถึงความเก่งกาจจนเอาชนะ สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ไปได้ขาดลอย 3 ต่อ 0 เซต คว้าถ้วยแชมป์ไทยลีกไปครองได้ในสมัยที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ทีมตกเป็นรองตลอดทั้งฤดูกาล
เหตุใดจึงเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้ สำหรับทีมที่ไม่ได้อยู่อันดับ 1 แต่กลับมาพลิกเอาชนะในนัดตัดสินนั้นไม่ได้มีแค่ที่ประเทศไทยอย่างเดียว เพราะในวอลเลย์บอลลีกญี่ปุ่นก็มีเหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้น เพราะฤดูกาลก่อนหน้าอย่างสโมสร โทเรย์แอร์โรส์ ที่ไม่เคยแพ้ให้ใครตลอดทั้งฤดูกาล กลับโดด
ย้อนกลับไปฤดูกาลที่แล้วในลีกญี่ปุ่นอย่าง โทเรย์แอร์โรส์ทีมไร้พ่ายตลอดทั้งซี่ซั่น ก็โดนสโมสร เจที มาร์เวลลัส ซึ่งเป็นรองเอาชนะได้ในนัดตัดสินปาดหน้าคว้าแชมป์ไปเช่นเดียวกัน ส่วนเหตุผลนั้นเกิดจากอะไรเราลองมาวิเคราะห์กันดู
1. ความกดดันของผู่เล่น
การที่ทีมใดทีมหนึ่งเอาชนะมาอย่างต่อเนื่องไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผลดีเสมอไป เมื่อไม่เคยแพ้ความมั่นใจของทีม และการคาดหวังนักกีฬาจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้ายบางคนอาจติดประมาท หรือมีความกังวลในนัดตัดสินได้ ต้องแบกความกดดันที่ทำมาได้ยอดเยี่ยมตลอดทั้งฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นทั้งของกองเชียร์ หรือศักดิ์ศรีของสโมสร จนเมื่อมีความผิดพลาดขึ้นในช่วงสำคัญก็จะก่อนให้ความกลัว ตามไปด้วยความตื่นเต้นจนไม่สามารถทำตามแผนที่วางเอาไว้ได้ อย่างที่ผู้ชมเห็นได้จากภาษากาย และสีหน้าของผู้เล่นของ สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ในเกมส์สุดท้ายที่มีความเคร่งเครียดกดดันหลังถูกทำแต้มทิ้งห่าง ต่างจาก ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ ซึ่งยิ่งเล่นยิ่งดี แถมแฟน ๆ ยังได้ใจส่งเสียงเชียร์ทีมที่เป็นรองกันอย่างสนุกสนานบั่นทอนกำลังใจของฝ่ายตรงข้ามไปเรื่อย ๆ
2. เรื่องตัวจริงตัวสำรองของทีม
อย่างที่แฟน ๆ วอลเลย์บอลรู้กันว่าทั้งสโมสร ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ และสโมสร สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ล้วนเป็นทีมใหญ่ในไทยลีก มีขุมกำลังอันเหนือกว่าสโมสรอื่น ๆ ไม่ว่าจะฝั่งผู้เล่นตัวจริง หรือฝั่งผู้เล่นตัวสำรอง แต่สิ่งที่ทั้ง 2 สโมสรนี้แตกต่างกันคือ สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค เจอผู้เล่นตัวจริง 6 คนแรกที่ลงตัวได้เร็วกว่าทำให้พวกเธอเป็นอันดับ 1 ในการแข่งขันเก็บคะแนนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเมื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จะบอกว่าเป็นทั้งข้อดี และข้อเสีย เพราะเมื่อถึงรอบตัดสินการที่ผู้เล่นสำรองไม่ค่อยได้ลงไปสัมผัสกับเกมการแข่งขันซักเท่าไร ทำให้เมื่อเปลี่ยนตัวลงไปแล้วไม่สามารถแก้เกมให้ดีกว่าเดิมได้ แตกต่างจาก ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ ซึ่งมีการสลับสับเปลี่ยนผู้เล่นตลอดฤดูกาล มีคนได้พักมีคนได้ลงแม้จะเกิดปัญหาในเรื่องความต่อเนื่อง และการเข้าขาบ้าง แต่กลับกันผู้เล่นทุกคนก็มีความสดใหม่ ได้ลงไปสัมผัสเกมกันหมด ทำให้เกิดความคุ้นชินเมื่อยามที่ใครคนใดคนหนึ่งถูกเปลี่ยนลงไปแทนก็พร้อมสร้างสถานการณ์ให้พลิกกลับมาได้เสมอ
3. เปลี่ยนผู้เล่นได้ถูกที่ถูกเวลา
ลองมาดูการสลับตำแหน่งของ ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ กันบ้าง ก่อนจะลงแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศทีมได้ขาดผู้เล่นตัวหลักอย่าง โมเม ธนัชชา สุขสด ดาวรุ่งตำแหน่งบีหลัง จึงได้เปลี่ยนให้ Liannes Simon ผู้เล่นชาวคิวบาตำแหน่งบอลกลาง มาเล่นในตำแหน่งบีหลังแทน สิ่งนี้อาจจะเป็นความแปลกใหม่ และเป็นส่วนหนึ่งให้ทีมทำเกมบุกได้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น เพราะผลลัพท์คือสามารถเอาฉีกเอาชนะบล็อกกับเกมรับอันแข็งแกร่งของ สุพรีม ทิพย ชลบุรี-อี.เทค ไปอย่างน่าเหลือเชื่อ ยังไม่จบแค่นั้นเพราะเจ้าตัวยังคอยบล็อกช่วยเกมรับปิดเกมรุกของสุพรีมได้สมบูรณ์แบบ ส่วนผู้เล่นอีกคนที่เข้ามาร่วมทีมในเลค 2 ก็ต้องบอกว่ายอดเยี่ยมมาก ๆ เพราะ กัปตันทีมอย่าง นุศรา ต้อมคำ ซึ่งหลายคนบอกว่าเธอหมดแล้ว ฟอร์มตก หรือไม่สารถเล่นเข้ากับเพื่อนร่วมทีมได้เลย กลับกลายเป็นว่านัดชิงชนะเลิศเธองัดฟอร์มเทพออกมาได้ทันท่วงที มีทั้งการปั้นเกมรุก ดึงจังหวะเกม โชว์ความเก๋าให้ได้เห็น ช่วยยกระดับทีมขึ้นมาอีกระดับเลยทีเดียว
บทสรุปสุดท้ายไม่ว่าจะเป็นเหตุผลไหนที่ทำให้สโมสร ไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ คว้าแชมป์ประจำฤดูกาล 2021 – 2022 ไปครอง ก็ถือว่าพวกเธอประสบความสำเร็จในการป้องกันแชมป์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้เล่นตัวจริง ผู้เล่นตัวสำรอง โค้ช เจ้าหน้าที่ หรือการวางแผนการเล่นนับว่าสุดยอดมาก ๆ เลยนะ ส่วนการป้องกันแชมป์ไว้ได้ของไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ-แอร์ฟอร์ซ มีผู้เล่นของทีมซึ่งได้รับรางวัลบุคคลดังต่อไปนี้ ผู้เล่นทรงคุณค่า และตำแหน่งหัวเสายอดเยี่ยมได้แก่ ศศิภาพร จันทรวิสูตร หรือ ออมสิน อายุ 24 ปี ส่วนสูง 178 ซม. น้ำหนักประมาณ 65 กก. กระโดดตบ 271 ซม. กระโดดบล็อก 260 ซม. ตำแหน่งตัวรับอิสระยอดเยี่ยมได้แก่ ฑิฆัมพร ช้างเขียว ชื่อเล่น อ้อม อายุ 38 ปี ส่วนสูง 168 ซม. น้ำหนักประมาณ 62 กก. และตำแหน่งเสิร์ฟยอดเยี่ยมได้แก่ ธนัชชา สุขสด ชื่อเล่น โมเม อายุ 22 ปี ส่วนสูง 180 ซม. น้ำหนักประมาณ 65 กก. กระโดดตบ 290 ซม. กระโดดบล็อก 288 ซม.
จบลงไปแล้วกับบทความ ย้อนรอยวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก 2022 กับการคว้าแชมป์ของสโมสรไดมอนด์ ฟู้ด ไฟน์เชฟ–แอร์ฟอร์ซ หวังว่าจะถูกใจแฟน ๆ นักตบลูกยางทุก ๆ ท่าน เพราะถ้าหากได้รับรู้ว่าทีมที่คุณชื่นชอบ หรือทีมคู่แข่งที่คุณเชียร์มีความเป็นมาอย่างไรก็จะช่วยให้ขณะชมการแข่งขันมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะทราบถึงข้อมูลของตัวผู้เล่นเก่ง ๆ ในทีมนั้น ๆ และยังสามารถไปติดตามพวกเธอเพิ่มเติมกันต่อได้ ทั้งนี้ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเป็นกองเชียร์ของสโมสรใด หรือเป็นแฟนคลับของนักกีฬาคนไหน ก็อย่าลืมส่งแรงใจให้กับเหล่าบรรดานักกีฬาเวลาพวกเธอเวลาลงสนามกันด้วย สำหรับวันนี้เราต้องขอลาไปก่อน พบเจอกันใหม่กับบทความวอลเลย์บอลสนุก ๆ ในครั้งหน้านะ